วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เครื่องวัดรอบขาไทยประดิษฐ์ ง่ายนิดเดียว

. . . . จั่วหัวเรื่องไว้อย่างนี้ อาจทำให้บางคนวาดมโนภาพของอุปกรณ์ชิ้นนี้ว่า คงจะมีทั้งความกว้าง ความยาว และความหนา อย่างเดียวกับมิเตอร์วัดความเร็ว แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะมันเป็นกระดาษที่มีเพียงตาราง(table) และตัวเลขไม่กี่จำนวน

. . . . รอบขานั้นจะสำคัญอย่างไร ท่านสามารถใช้ช่องทางค้นหาของหน้า webboard ใน www.thaimtb.com นี้ ค้นหาจากคำว่า “รอบขา” หรือ “ความเร็วรอบขา” ได้โดยไม่ยาก จึงไม่ขอพูดถึงอีก ขอลัดเข้าสู่ วิธีหาความเร็วรอบขา เลยดีกว่า หลักการก็ไม่มีอะไรมาก เป็นหลักกลศาสตร์ง่ายๆ ที่เลือกใช้วิธี แปลงตัวเลข “กิโลเมตร/ชั่วโมง” บนหน้าปัดมิเตอร์วัดความเร็ว เป็น “จำนวนรอบขา/นาที”

. . . . เมื่อปลายปี 2539 เพื่อนผมที่ตรัง คือ คุณ TIGERSONG ได้ขึ้นมาขี่จักรยานกับผมที่เมืองนนท์ และพูดหลักการที่ว่านี้ให้ผมฟัง โดยแสดงหลักคิดว่า “ถ้าเรารู้ว่า เราปั่นจักรยาน ด้วยใบจานหน้าขนาดกี่ฟัน เฟืองหลังขนาดกี่ฟัน กับรู้จากตัวเลขบนหน้าปัดมิเตอร์วัดความเร็วว่า จักรยานเคลื่อนที่กี่กิโลเมตร/ช.ม. ก็สามารถคำนวณหาความเร็วของ จำนวนรอบขา/นาที ได้ไม่ยาก เพราะเรารู้ความยาวของเส้นรอบวงล้อหลังของจักรยานของเรา(จากการวัด) อยู่แล้ว”

. . . . แต่ก่อนที่เราจะนำค่าต่างๆ ไปคำนวณด้วยโปรแกรม Excel เราต้อง set มิเตอร์วัดความเร็วโดยใช้ค่าเส้นรอบวงของล้อหน้า แต่เมื่อถึงขั้นตอนที่เราจะคำนวณหาค่าของ ความเร็วรอบขา/นาที เราต้องใช้ค่าเส้นรอบวงของล้อหลัง เพราะเราปั่นจำนวนฟันของใบจานหน้า ส่งแรงผ่านโซ่ไปยังเฟืองเกียร์หลัง เพื่อหมุนล้อหลังดันจักรยานให้เคลื่อนที่

. . . . ทีนี้สมมุติว่า เราขี่จักรยานเสือภูเขา ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางขอบล้อขนาด 26 นิ้ว โดยมีเส้นรอบวงของยางล้อหน้า 2.05 เมตร และมีเส้นรอบวงของยางล้อหลัง 2.04 เมตร เช่นนี้ เราต้อง set มิเตอร์วัดความเร็วโดยใช้ค่าเส้นรอบวงของล้อหน้าคือ 2.05 เมตร

. . . . สมมุติต่อมาว่า เราขี่จักรยานโดยใช้ ใบจานหน้าขนาด 32 ฟัน เฟืองเกียร์หลังขนาด 15 ฟัน มีความเร็วรอบขา 70 รอบ/นาที เราก็สามารถคำนวณหา ความเร็ว โดยใช้สูตรใน Excel ดังนี้

ความเร็วเป็น กม. ต่อ ชม. = (ฟันหน้า/ฟันหลัง) * (เส้นรอบวงล้อหลังเป็นเมตร/1000) * (รอบขาต่อนาที*60)
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . = (32/15) * (2.04/1000) * (70*60)
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . = 18.28 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง

เมื่อเรากลับสมการ ก็จะได้สูตรหา ความเร็วของรอบขา เป็น จำนวนรอบ ต่อ นาที ดังนี้

ความเร็วรอบขา ต่อ นาที = (ฟันหลัง/ฟันหน้า) * (1000/เส้นรอบวงล้อหลังเป็นเมตร) * (ความเร็ว/60)
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . = (15/32) * (1000/2.04) * (18.28/60)
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . = 70 รอบ ต่อ นาที

. . . . แม้ว่านักจักรยานแต่ละคน จะมีรอบขาอยู่ในย่านความเร็วที่ต่างกัน แต่ทุกคนจะมีย่านความเร็วรอบขา ที่จะใช้ในสถานการณ์ต่างๆ เป็นแบบฉบับของตนเอง ดังนั้น แต่ละคนจึงสามารถกำหนดย่านความเร็วรอบขา ที่ตนเองต้องใช้บ่อยๆ ขึ้นมาสัก 2 ย่านความเร็วรอบขาได้ เช่น 70 รอบ/นาที กับ 90 รอบ/นาที ทีนี้เมื่อเราอยู่ในเกียร์ที่เราใช้เป็นประจำ เราก็จะเหลือการที่จะต้องจำเพียง ตัวเลขความเร็วของจักรยานเพียงไม่กี่ตัว ที่จะทำให้เราเทียบได้โดยไม่ยากว่า เราเข้าสู่ย่านรอบขาที่เราต้องการแล้วหรือไม่ และสำหรับความเร็วรอบขา/นาที นั้น เราไม่จำต้องรู้ในหลายๆ ย่าน เหมือนอย่างมิเตอร์ที่วัดความเร็วเป็น กม./ชม. เรากำหนดความเร็วรอบขาในย่านที่ใช้บ่อยๆ สัก 2 ย่าน ก็น่าจะพอ เช่น รอบขาขั้นต่ำที่ต้องการรักษาไว้ไม่ให้ต่ำไปกว่า 70 รอบ/นาที กับรอบขาที่ปกติใช้ซ้อมความเร็วในทางเรียบ ที่ประมาณ 85-90 รอบ/นาที ส่วนรอบขาสูงๆ นั้นไม่อาจจะรักษาระดับให้คงที่อยู่ได้นาน จึงไม่ค่อยจำเป็นนัก

By : ชยุต (Pc) [ 29 มี.ค. 45 - 03:17:46 น. ]

7C … = … ใบจานหน้า 42-32-22 ฟัน … เฟืองหลัง 7 เกียร์ 11 :: 28 ฟัน
8B … = … ใบจานหน้า 46-34-24 ฟัน … เฟืองหลัง 8 เกียร์ 12 :: 32 ฟัน
8F … = … ใบจานหน้า 42-32-22 ฟัน … เฟืองหลัง 8 เกียร์ 11 :: 30 ฟัน
9A … = … ใบจานหน้า 46-34-24 ฟัน … เฟืองหลัง 9 เกียร์ 12 :: 34 ฟัน
9C … = … ใบจานหน้า 44-32-22 ฟัน … เฟืองหลัง 9 เกียร์ 11 :: 34 ฟัน
9D … = … ใบจานหน้า 44-32-22 ฟัน … เฟืองหลัง 9 เกียร์ 11 :: 32 ฟัน

คอลัมน์ที่ 1 = จำนวนฟันของใบจานหน้า
คอลัมน์ที่ 2 = จำนวนฟันของเฟืองเกียร์หลัง
คอลัมน์ที่ 3 = จาน - เกียร์
คอลัมน์ที่ 4 = ณ รอบขา 70 รอบ/นาที ในแต่ละจาน-เกียร์ จักรยานจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ? กม./ชม.
คอลัมน์ที่ 5 = ณ รอบขา 90 รอบ/นาที ในแต่ละจาน-เกียร์ จักรยานจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ? กม./ชม.

วิธีทำ : ใส่สูตร Excel ในคอลัมน์ที่ 4-5 ดังต่อไปนี้ คือ
ความเร็วเป็น กม. ต่อ ชม. = (ฟันหน้า/ฟันหลัง) * (เส้นรอบวงล้อหลังเป็นเมตร/1000) * (รอบขาต่อนาที*60)

วิธีใช้ : ตัดกระดาษให้เหลือเพียง 3 คอลัมน์ทางขวา แล้วตัดสติ๊กเกอร์ใสให้ใหญ่กว่ากระดาษด้านละ 4 ม.ม. ปิดทับลงบนกระดาษ แล้วนำไปติดบนคอแฮนด์ หรือท่อบน ไม่จำเป็นต้องให้เห็นชัดก็ได้ ติดไว้เพื่อให้หาดูได้ง่ายๆ ก็พอ ดูบ่อยๆ ก็พอจะจำตัวเลขที่จำเป็นได้ไปเอง
. . . . ตารางรอบขา/นาที แบบนี้ เมื่อแรกใช้ก็จะเหลือบดูยากหน่อย แต่ดูบ่อยๆ จนคุ้นตำแหน่งแล้ว ก็จะจำตัวเลขความเร็วในแต่ละคู่จาน-เกียร์ ณ จำนวนรอบที่ใช้บ่อยๆ ได้เอง ... แม้จะดูยากกว่า และให้รายละเอียดแคบกว่า มาตรวัดรอบขาที่มีตัวเลขบนหน้าปัดใหญ่กว่า แต่ก็สามารถประดิษฐ์ใช้ได้เอง และกำหนดได้เองว่า จะให้อยู่ในย่าน กี่ รอบขา/นาที จึงเพียงพอต่อการฝึกซ้อม และข้อดีที่เห็นได้ชัดก็คือ ไม่มีสายให้รุงรัง และไม่เกะกะในขณะทำความสะอาด บริเวณขาจานและตะเกียบโซ่

From : Pc [ 29 มี.ค. 45 - 03:19:58 น. ]

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551

งาดำ + วิธีคั่ว

งาดำ

คุณค่าทางอาหาร
งา : เมล็ดพืชเล็กจิ๋วที่อุดมไปด้วยสารอาหาร มี 2 แบบ คือ งาดำ และงาขาว นอกจากนี้ยังมีน้ำมันงาที่ใช้ปรุงอาหารได้ดี เพราะมีกลิ่นหอมและกรดไขมันที่มีประโยชน์. . . . สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดงาล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น เช่น โปรตีนในงามีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ กรดอะมิโนเมธิโอนีน ในถั่วเหลืองมีกรดอะมิโนที่จำเป็นตัวนี้น้อย ชาวมังสวิรัติจึงใส่งาลงไปในอาหารถั่วเหลืองที่ปรุง เพื่อให้มีสารโปรตีนสมบูรณ์มากขึ้น. . . . ในเมล็ดงามีน้ำมันมาก จึงสกัดออกมาเป็นน้ำมันงาที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยม คือ มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง ทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 กรดไขมันโอเมก้า 6 ที่มีคุณสมบัติช่วยลดคลอเลสเตอรอล จึงช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันโรคหัวใจ ทำให้ระบบหัวใจแข็งแรง นอกจากนี้ยังมีกรดไขมันไลโนเลอิก (linoleic acid) ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น. . . . งายังมีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ โดยเฉพาะแคลเซียมที่มีมากกว่านมวัวถึง 6 เท่า มีธาตุเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และทองแดง อีกทั้งยังมากด้วยวิตามินบีชนิดต่างๆ ซึ่งดีต่อระบบประสาท ช่วยทำให้นอนหลับ ร่างกายกระฉับกระเฉง พร้อมกันนั้นยังมีสารบำรุงประสาทด้วย และวิตามินอีเป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยต้านมะเร็ง. . . . เลือกซื้อเมล็ดงาดำและงาขาวที่สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน เมื่อซึ้อมาแล้วให้เก็บใส่ขวด ปิดฝา เมื่อจะใช้ให้คั่วในปริมาณที่พอใช้ เท่านั้น เพราะถ้าคั่วทิ้งไว้กลิ่นจะไม่หอมและเหม็นหืนข้อมูลจาก : http://www.skr.ac.th/Work_M5/food_health/prw/prw.html

วิธีคั่ว

ใช้ตะแกรงร่อนฝุ่น ผง ทราย ออกซะก่อน .. แล้วล้างด้วยน้ำเกลือ 1 % (อย่าแช่นาน เดี๋ยวเค็ม)

. . . . ผมใช้แผ่นตะแกรงแบบสแตนเลส ย้อยตกท้องช้าง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว มีตาห่างกำลังดี มีขอบเพียงครึ่งนิ้ว เป็นสแตนเลสเหมือนกัน และมีลวดล้อมขอบยื่นออกมาเป็นมือจับคล้ายที่กรองกะทิแบบนี้ใช้ดี ร่อนฝุ่น ผง และทราย ออกได้มาก จะว่าเกือบหมดก็ว่าได้ ถ้าไม่รังเกียจฝุ่นดินที่เหลือติดผิวของงาดำอีกหน่อย ก็เอาไปคั่วหรืออบได้เลย
. . . . แต่ถ้าจะล้างก็หากะละมังที่ใหญ่กว่าตะแกรงซักหน่อย เติมน้ำ 2 ลิตร กับเกลือหยาบ 20 CC. (1 ช้อนโต๊ะพูนๆ) แล้วใช้ตะแกรงใส่งาดำประมาณ 250 กรัม ลงไปล้างในน้ำเกลือ ยกตะแกรงขึ้น-ลงให้ฝุ่น ผง ทราย ร่วงหลุดลอดตาข่ายลงไป ใช้ทัพพีคนให้ทั่วอีกครั้ง แล้วรีบยกขึ้นสะเด็ดน้ำให้แห้ง (ถ้าแช่นานเกิน 5 นาที ก็อาจจะเค็ม) ตอนเทน้ำเกลือทิ้งจะเห็นตะกอนดินอยู่ก้นกะละมัง
ก่อนหรือหลังการล้างด้วยน้ำเกลือไม่จำเป็นต้องล้างด้วยน้ำเปล่า น้ำเกลืออย่างเดียวก็ล้างฝุ่น ผง ทราย ได้เกลี้ยงเกลา (เคี้ยวไม่เจอทรายแล้ว)จากนั้นก็เทงาดำใส่ถาดไปตากแดดจนแห้งดี ..

การคั่ว..
ถ้ากลัวไหม้ก็ใช้กระทะหนาๆ ใบใหญ่ซักหน่อย จะได้กระจายความร้อนไม่ให้ร้อนมากเกินไป ..
ใช้ไฟอ่อนที่สุด คั่วแบบไม่หยุดมือ คอยสังเกตว่าถ้าร้อนมากจนมีควันลอยขึ้นก็ต้องรีบยกกระทะสูงขึ้นให้ห่างไฟสักครู่ พอควันหยุดลอยจึงค่อยคั่วต่อ และต้องใช้เวลานานประมาณ 1 ชม. จึงจะหอม . . . . แต่ถ้าใช้วิธีอบก็อบทั้งเปียกๆ ได้เลย .. ครึ่งชั่วโมงแรกตั้งอุณหภูมิที่ 150 องศาเซนเซียส (ตามสูตรของคุณ TIGERSONG) ครบครึ่งชม. ใช้ทัพพีคนงาดำพลิกไปพลิกมาให้ทั่ว แล้วลดอุณหภูมิลงมาที่ 130 องศา อบต่ออีกครึ่งชม. ถ้าแห้งดีและส่งกลิ่นหอมกรุ่นๆ แล้ว ก็ใช้ได้เลยครับ...